วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555



#include<stdio.h>
main()
{
    int a,b;
    float c;
    char sex[10];
    printf("Enter NO:");
    scanf("%d",&a);
    printf("Enter Age:");
    scanf ("%d",&b);
    printf("Enter GPA:");
    scanf ("%f",&c);
    printf("Enter A sex:");
    scanf ("%s",sex);
    printf ("NO:%d Age:%d GPA:%.2f sex:%s",a,b,c,sex);
}


401


#include<stdio.h>
Main ()
{
    int x=2;
    float a=2.22;
    printf("welcome To 401\n");
    printf("My No is x=%d",x);
    printf(" and my Grage is a=%.2f",a);
    printf("\nGoodbye ^^");
}

วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การแสดงข้อความผ่านหน้าจอ



#include<stdio.h>
main( )
{
    printf("     ccccc\n    ccc\n   ccc\n  ccc\n ccc\nccc\nccc\nccc\n ccc\n  ccc\n   ccc\n    ccc\n     cccccc\n   programming/n ");

}

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ใบงานเครือข่ายคอมพิวเตอร์

แบบฝึกหัดเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. จงอธิบายความหมายของเครือข่ายมาพอเข้าใจ
ตอบ. เครือข่าย (Network)   เป็นรูปแบบทางสังคมที่เปิดโอกาสให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์การเพื่อการแลกเปลี่ยน การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และการร่วมกันทำงานโดยมีฐานะเท่าเทียมกัน
2. จงอธิบายความหมายคำว่าอินเตอร์เนต
ตอบ.อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นหนึ่งเดียวซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะสามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร , ภาพและเสียงได้ รวมทั้งสามารถค้นหาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว
อินเตอร์เน็ตประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน ส่วนที่เป็นเครือข่ายที่เชื่อมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน และส่วนที่ที่เป็นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเก็บรวบรวมไว้ พร้อมกับมีความสามารถที่ช่วยให้เราค้นหาข้อมูลได้ในเวลาอันสั้น
3. จงเขียนอธิบายรูปแบบการเชื่อมต่อดังนี้
3.1 แบบดาว
ตอบ.  แบบดาว (Star Network)   เป็นวิธีการที่นิยมใช้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเข้ากับคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Host Computer) ซึ่งจะใช้เป็นเครื่องศูนย์กลาง และต่อสายไปยังคอมพิวเตอร์หรือเทอร์มินัลตามจุดต่างๆ แต่ละจุดเปรียบได้กับแต่ละแฉกของดาวนั่นเอง
3.2 แบบวงแหวน
ตอบ. การเชื่อมต่อแบบวงแหวน (RING TOPOLOGY) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ โดยสถานีแรก เชื่อมต่อกับสถานีสุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานี โดยมีตัวนำข่าวสาร วิ่งไปบนสายสัญญาณ ของแต่ละสถานี ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเอง ต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป ตัวอย่างเช่น การเชื่อมต่อของ IBM Token Ring ที่ต้องมีตัวนำข่าวสาร หรือ Token นำข่าวสารวิ่งวนไปรอบสายสัญญาณหรือ Ring แต่ละสถานีจะคอยตรวจสอบ Token ว่าข่าวสารที่นำมาด้วยเป็นของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะรับข่าวสารนั้นไว้ แล้วส่ง Token ให้สถานีอื่นใช้ต่อไปได้
3.3 แบบบัส
ตอบ. แบบบัส (Bus Network) คือลักษณะการเชื่อมต่อแบบอนุกรม โดยใช้สายเคเบิลเส้นยาวต่อเนื่องกันไปดังรูปที่ได้แสดงไว้ โครงสร้างแบบนี้มีจุดอ่อนคือเมื่อคอมพิวเตอร์ตัวใดตัวหนึ่งมีปัญหากับสายเคเบิล ก็จะทำให้เครือข่ายรวนไปทั้งระบบ นอกจากนี้เมื่อมีการเพิ่มคอมพิวเตอร์เข้าไปในเครือข่าย อาจต้องหยุดการใช้งานของระบบเครือข่ายก่อน เพื่อตัดต่อสายเข้าเครื่องใหม่
3.4 แบบทรีหรือแบบต้นไม้
ตอบ.โครงสร้างเครือข่ายแบบเมซ (Mesh Network) เป็น Topology ที่ถือว่าป้องกันการผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากเราเดินสาย Cable ไปเชื่อม ต่อกับ Station ทุก Station โดยเมื่อสายจาก Station ใดเกิดมีปัญหาขึ้นก็จะยังสามารถใช้สายอื่นที่เหลืออีกได้ ระบบนี้ยากต่อการ เดินสายและมีราคาแพงมาก จึงยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก
4. จงสรุปว่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย มีอะไรบ้างพร้อมให้นิยามความหมายมาพอเข้าใจ
ตอบ. 1.โมเด็ม (Modem) โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัล
         2. การ์ดเครือข่าย (Network  Adapter) หรือ การ์ด LAN เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่า
         3. เกตเวย์ (Gateway) เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์  2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน
         4. เราเตอร์ (Router) เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
         5. บริดจ์ (Bridge) บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูล จากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง
         6. รีพีตเตอร์ (Repeater)  รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่
         7.  สายสัญญาณ เป็นสายสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเข้าด้วยกัน หากเป็นระบบที่มีจำนวนเครื่องมากกว่า 2 เครื่องก็จะต้องต่อผ่านฮับอีกทีหนึ่ง โดยสายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครื่องในระบบเครือข่าย จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ -สาย Coax  มีลักษณะเป็นสายกลม  คล้ายสายโทรทัศน์
                  -สาย UTP (Unshied  Twisted  Pair)  เป็นสายสำหรับการ์ด  LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ-45  สามารถส่งสัญญาณได้ไกล
5. จงอธิบายความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้มาพอเข้าใจ
5.1 LAN เป็นลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันภายในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เครือข่าย LAN ออกแบบมาเพื่อให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน
5.2 WAN เครือข่าย WAN เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็นหลาย ๆ กิโลเมตร
5.3 Frame Relay  Frame relay เป็นการออกแบบสื่อสารโทรคมนาคมสำหรับประสิทธิภาพต้นทุนการส่งผ่านสำหรับการจราจรเป็นช่วงระหว่างเครือข่ายพื้นที่ท้องถิ่น (local area network)
5.4 Ethernet เป็นเทคโนโลยีของ LAN ที่ได้รับการติดตั้งอย่างกว้างขวาง
5.5 Internet  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก
5.6 Protocol การสื่อสารทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำต้องมีการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ
5.7 Fiber optic คือ สายสัญญาณของระบบเครือข่ายอีกชนิดหนึ่ง ที่มีความสามารถในการรับ-ส่งสัญญาณได้ไกลๆ เป็นกิโลเมตร และมีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก
5.8 ATM มาตรฐานรูปแบบ การส่งข้อมูลความเร็วสูง ที่ถูกพัฒนามาสำหรับงานที่ต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลสูงมาก
5.9 VPN VPN หรือ Virtual Private Network หมายถึง เครือข่ายเสมือนส่วนตัว ที่ทำงานโดยใช้ โครงสร้างของ เครือข่ายสาธารณะ
6. จงเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกียวข้องกับระบบเครือข่ายมา 10
คำพร้อมอธิบายความหมายและคำอ่านภาษาอังกฤษ
1.ADDRESS
ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ต หรือ ที่อยู่ของอีเมล์
2.ADSL
Asymmetric DSL หมายถึง เทคโนโลยี DSL ที่สามารถ ส่งสัญญาณข้อมูล แบบแบนด์วิดท์ไม่สมดุลย์ ผ่านคู่สายสัญญาณ เพียงคู่เดียวได้
3.Backbone
เปรียบได้กับ กระดูกสันหลัง ของเครือข่ายสื่อสาร เป็นส่วนสำคัญ ของเครือข่าย ที่ทำหน้าที่เป็น เส้นทางหลัก ในการส่งข้อมูล ระหว่างเครือข่าย มากกว่า ที่จะใช้ส่งข้อมูล กันภายใน
4.Bridge
บริดจ์ เป็นอุปกรณ์สำหรับ ส่งผ่านกลุ่มข้อมูล (packets) ผ่านส่วนต่างๆ ของเครือข่ายสื่อสาร โดยอาศัย โปรโตคอลสื่อสาร อันเดียวกัน ในกรณีที่ กลุ่มข้อมูลนั้น ต้องถูกส่งไปยัง ผู้ใช้ปลายทาง ที่อยู่ในเครือข่าย ส่วนเดียวกันกับผู้ส่ง บริดจ์จะไม่ส่งผ่านข้อมูล ออกไป นอกส่วนเครือข่ายนั้น แต่ในกรณีที่ ต้องส่งข้อมูล ไปยังส่วนอื่น บริดจ์ก็จะส่งผ่านข้อมูล ออกไป ผ่านทาง Backbone ของเครือข่าย
5.Bandwidth แบนด์วิดท์ หมายถึง ความจุข้อมูล ของเส้นทาง เชื่อมต่อเครือข่าย ที่สามารถส่งผ่านไปได้ ซึ่งบอกถึง ความเร็วในการส่งข้อมูล
6.BROSWER
โปรแกรมสำหรับใช้เล่น internet เวิลด์ ไวด์ เว็บ (www) ได้แก่Internter Explorer, Netscape, Opera
7.Client
ไคลเอ็นท์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องปลายทาง (terminal) ที่ต่ออยู่กับ เครือข่าย ที่สามารถใช้ "บริการ" ร่วมกันกับ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นได้ บริการเหล่านี้ จะถูกจัดเก็บ และบริหาร โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์
8.COMPOSE
การแต่ง หรือเขียนจดหมาย Email
9.DIAL UP
การติดต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือระบบเครือข่าย ผ่านทางสายโทรศัพท์
10.Client
ไคลเอ็นท์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องปลายทาง (terminal) ที่ต่ออยู่กับ เครือข่าย ที่สามารถใช้ "บริการ" ร่วมกันกับ เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นได้ บริการเหล่านี้ จะถูกจัดเก็บ และบริหาร โดยเครื่องเซิร์ฟเวอร์


วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ใบงานที่ 3

ใบงาน บทที่ 3 เรื่อง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
1. คอมพิวเตอร์คืออะไร
ตอบ. เครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
2. ให้นักเรียนวาดรูปแสดงวงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์มาให้สมบูรณ์มากที่สุด
ตอบ. 

3. คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
ตอบ. 1. ความเร็ว
       2. ความเชื่อถือ
       3. ความถูกต้องแม่นยำ
       4. เก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ได้
       5. ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว
4. คอมพิวเตอร์มีกี่ประเภท ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ. แบ่งเป็น 5 ประเภทหลัก ได้แก่
         1) ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer)
         2) สถานีงานวิศวกรรม (engineering workstation)
         3) มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer)
         4) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
         5) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) หรือคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง-
             (high performance-computer)
5. งานด้านการวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใด เพราะเหตุใดถึงเลือกคอมพิวเตอร์ประเภทนั้น
ตอบ. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (super computer) เพราะ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องมีการคำนวณตัวเลขจำนวนหลายล้านตัวภายในเวลาอันรวดเร็ว เช่น งานพยากรณ์อากาศ ที่ต้องนำข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับอากาศทั้งระดับภาคพื้นดิน และระดับความชื้นบรรยากาศเพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของอากาศ งานนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก
6. ระบบงานจองห้องพักของโรงแรม ควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใด เพราะเหตุใดถึงเลือกคอมพิวเตอร์ประเภทนั้น
ตอบ. มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) เพราะ เป็นเครื่องที่สามารถใช้งานพร้อมๆ กันได้หลายคน จึงมีเครื่องปลายทางที่เชื่อมต่อกัน ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ในกลุ่มนี้เปลี่ยนเป็นสถานีบริการบนเครือข่ายในรูปแบบเซิร์ฟเวอร์ (server)
7. ระบบงานธนาคาร ควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ประเภทใด เพราะเหตุใดถึงเลือกคอมพิวเตอร์ประเภทนั้น
ตอบ. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer) เพราะ มีขนาดใหญ่ ประสิทธิภาพสูง มีความเร็วในการทำงานและมีหน่วยความจำสูงมาก เหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่
8. คอมพิวเตอร์พกพาหรือโน้ตบุ๊ค จัดอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทใด
ตอบ. ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer)
9. องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยกี่ด้าน ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ.    1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
          2. ซอฟต์แวร์ (Software)
          3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information)
          4. บุคคลากร (Peopleware)
          5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure)
10.ให้นักเรียนวาดรูปแสดงขั้นตอนของสารสนเทศ
ตอบ.

11.ให้นักเรียนแต่ละคนบอกถึงประโยชน์ และวิธีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการเรียน
ตอบ. ทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุดช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ
12.ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นว่าคอมพิวเตอร์มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์หรือไม่อย่างไร และนักเรียนคิดว่าทุกคนมีความจำเป็นที่ต้องเรียนรู้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ. มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันคิดว่ามีความจำเป็นเพราะ
1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและรู้ถึงประโยชน์ในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในงานด้านต่างๆ
2. เพื่อให้ผู้เรียนใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ประกอบการทำงานด้านต่าง ๆ ได้
3. ผู้เรียนเข้าใจได้ว่าแต่ละงานหรืออาชีพต่าง ๆ มีความจำเป็นอย่างไรในการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ใบงาน 1

ตอนที่1  จงอธิบายคำถามต่อไปนี้
1. จงยกตัวอย่างระบบสารสนเทศที่นักเรียนพบเห็นในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย 1 ระบบ
  ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
  2 
ระบบสารสนเทศเทคโนโลยีการเกษตร
 ระบบสารสนเทศทางการเเพทย์
  4 
ระบบสารสนเทศการเงินการธนคาร
  5 
ระบบสารสนเทศการแสดงหุ้นของบริษัทต่างๆ
2. เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร  เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารเทศได้อย่างไรบ้าง
        จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย
      การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ โดยอาศัยเครื่องมือ
   ทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคม
    และการสื่อสาร
      ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเราสามารถใช้ได้แทบจะทุกแขนง เช่น ด้านการศึกษาที่ลด
    ปัญหาทางด้านเวลาและระยะทางในการเรียนได้ โดยจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามชุมชนที่อาศัยเทคโน
    โลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ฯลฯ 
3. องค์ประกอบของระบบสารสนเทศมีกี่ส่วน อะไรบ้าง
          ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ 
    1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ์)
    2. 
ซอฟต์แวร์
    3. 
ข้อมูล
    4. 
บุคลากร
    5.
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
4.  จงอธิบายการประมวลผลแบบกลุ่ม และ แบบเชื่อมตรง
          การประมวลผลที่ทำโดยอุปกรณ์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าอุปกรณ์นั้นจะเป็นส่วน หนึ่งของตัวเครื่อง (เช่นเครื่องอ่านบัตร)หรืออุปกรณ์นั้นจะอยู่ห่างออกไปแต่สามารถติดต่อโดยตรงกันเครื่องได้เช่น การประมวลผลโดยมีการสื่อสารระหว่างเครื่องปลายทางหรือเทอร์มินัล (terminal) และหน่วยประมวลผลกลางโดย  ทางโทรศัพท์ หรือวิธีอื่น ๆ การทำเช่นนี้เครื่องจะประมวลผลทันทีที่ได้รับข้อมูล ซึ่งจะเข้าสู่ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดเวลา เช่นที่ใช้ในการส่งยานอากาศไปนอกโลก การถอนเงินในระบบเงินด่วน เป็นต้น ดู batch processing  เปรียบเทียบ
5.    ประโยชน์ของ Geographic Information System มีอะไรบ้าง
      ช่วยให้การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถจัดการ
  
กำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก ที่รวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่แผนที่
  
รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง
  
ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา หรือการพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
6.    ให้นักเรียนยกตัวอย่างระบบสารสนเทศระดับต่างๆ มาอย่างน้อยระดับละ 1ตัวอย่าง
ระบบสารสนเทศระดับบุคคล คือ ระบบข้อมูลที่เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้บุคลากรในแต่ละคนในองค์การ ระบบสารสนเทศระดับบุคคลนี้มีแนวทางในการประยุกต์ที่ช่วยให้การทำงานในหน้าที่รับผิดชอบและส่วนตัวของผู้นั้นมี คุณภาพและประสิทธิภาพ
หนักงานขายควรมีข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าเป็นอย่างดีซึ่งจะทำให้การติดต่อซื้อขายได้ผลเลิศ  บริษัทควรมีการเตรียมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ให้หนักงานขายได้ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า  เช่น  ชื่อ  ที่อยู่  และความสนใจในตัวสินค้า 
  ระบบสารสนเทศระดับกลุ่ม คือ ระบบสารสนเทศที่ช่วยเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคล ที่มีเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตัวอย่างของการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนงานของแผนก คำว่าการทำงานเป็นกลุ่ม(workgroup)ในที่นี้หมายถึง กลุ่มบุคคลจำนวน 2 คนขึ้นไปที่ร่วมกันทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน 
ระบบสารสนเทศระดับองค์การ คือ ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนงานขององค์การในภาพรวม ระบบในลักษณะนี้จะเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก โดยการใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและส่งผ่านถึงกันจากแผนกหนึ่งข้ามไปอีกแผนกหนึ่งได้
เช่น ฝ่ายการขาย  ฝ่ายสินค้าคงคลัง  ฝ่ายพัสดุ  และฝ่ายการเงิน  แต่ละฝ่ายอาจจะมีระบบข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการปฏิบัติการ 

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประวัติของผู้เขียนบล็อก

ประวัติของผู้เขียน
ชื่อ นาย ชานนท์ ศรีจันทร์
เลขที่ 2 ห้อง 4/1
โรงเรียนชะอวด
ส่วนสูง 176 เซนติเมตร 
น้ำหนัก 85 กิโลกรัม
อายุ 16 ปีแล้วคั้บ
ประวัติการศึกษา
1.จบประถมโรงเรียนบ้านชะอวด ปีที่1-6
2.จบ มัธยม ม.ต้น โรงเรียนชะอวด
3.ตอนนี้ เรียนอยู่โรงเรียนชะอวด ม.4
รูปของข้าเจ้า....